๑. ชื่อโครงการ : สร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อน้อง
๒. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโลกเราหมุนไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันในระดับ Local ตลอดไปจนถึง Global อยู่ตลอดเวลา การศึกษาจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างกำลังบุคลากรของชาติให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมนานาอารยะประเทศ เพื่อดำรงอยู่ และพัฒนาไปตามโลกาภิวัตน์
สามาคมชุมชนอาสานานาชาติ หรือ International Volunteer Community Association มีวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ คือ ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน รวมไปถึงโรงเรียนด้อยโอกาสในชนบท ดังนั้นตลอดระยะเวลา ๙ ปี ที่ผ่านมา เราได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ เพื่อนำไปหยิบยื่นให้แก่น้อง ๆ ในโรงเรียนชนบทหรือโรงเรียนขนาดเล็ก เราสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ครูอาสาชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการสร้างคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน เรามั่นใจในแนวทางและมีหลักสูตรที่มีเอกลักษณ์ สามารถใช้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้เป็นอย่างดี เช่น เราสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เน้นทฤษฎี Learning by doing หรือ Learning by playing ในหัวข้อ การอนุรักษ์ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ สันติภาพ การแยกขยะ การรักบ้านเกิดและรากเหง้า วัฒนธรรม และการแบ่งปัน เป็นต้น ซึ่งหลักสำคัญของแนวทางในหลักสูตรของเรา คือการสร้างแรงจูงในให้ผู้เรียนเกิดความชื่อชอบและเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ไปปฏิบัติสิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่สังคมต่อไป
ตลอดระยะเวลา ๙ ปี มีชาวต่างชาติจำนวนมากที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของเรา เราจะนำพวกเขาตระเวนไปยังโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและปลูกฝังจริยธรรมผ่านการใช้ภาษาอังกฤษร่วมกับเด็ก ๆ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดโอกาส เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พ.ศ. ๒๕๖๓ เรามีการประชุมใหญ่วิสามัญ และมีมติเปลี่ยนกรรมการ พร้อมกันนั้นก็ร่วมกันคิดหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรให้มั่นคง รวมไปถึงการสร้างประโยชน์แก่สังคมให้มากขึ้น ดั้งนั้นเราจึงมีข้อสรุปถึงแนวทางการพัฒนาองค์กรอย่างชัดเจน และมีแผนที่จะสร้างศูนย์การเรียนรู้ขึ้นในทุ่งนา โดยเปิดเป็นโรงเรียนนอกระบบ เพื่อให้เยาวชนเข้ามาแสวงหาความรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และมุ่งเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและโลก โรงเรียนแห่งนี้จะเป็นต้นแบบการใช้ชีวิต Modern ทันยุคทันสมัย แต่จำเป็นต้องพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และวัฒนธรรมเก่าก่อน ทุกอาณาบริเวณของสถานที่ สามารถผลิตอาหารเพียงพอต่อสมาชิกในองค์กร เช่น การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา การทำนา การทำการเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น ถ้าทำได้ในอนาคตเรายังมุ่งหวังที่จะทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งความรู้ และให้โอกาสแก่ผู้ยากไร้ ตลอดไปจนถึงการสร้างฟาร์มกล้าไม้เพื่อใช้ในโครงการอนุรักษ์ป่าของเราอีกด้วย
๓. วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้แก่เยาวชน
- เพื่อสร้างที่พักแก่อาสาสมัครชาวต่างชาติ
- เพื่อสร้างค่ายอนุรักษ์ป่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. สถานที่ดำเนินการ
หมู่ที่ ๑ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
๕. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
เริ่มในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๓ และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ เดือน เมษายน ๒๕๖๔
(ขึ้นอยู่กับงบประมาณ)
๖. วิธีการดำเนินการ
- ระยะที่ ๑ จัดการพื้นที่ วางแผนผัง (เสร็จแล้ว)
- ระยะที่ ๒ ดำเนินการเดินระบบไฟฟ้า และน้ำ เข้าไปยังพื้นที่ (เสร็จแล้ว)
- ระยะที่ ๓ ก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก สำหรับ ครัว โรงเรียน และที่พัก (กำลังดำเนินการ) และอยู่ในขั้นตอนการระดมเงินทุนในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ โดยไม่รวมค่าแรง (สมาชิก) จะช่วยระดมกำลังในการก่อสร้าง
- ระยะที่ ๔ ตกแต่งสถานที่
แบบโครงสร้างเหล็ก (ระยะที่ ๓)
๗. งบประมาณ
สำหรับงบประมาณในระยะที่ ๓ มีดังนี้
- ครัว ค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท
- ห้องเรียน ค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท
- ที่พักอาสาสมัครชาวต่างชาติ ๒ หลัง ค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท
ระยะที่ ๔ การตกแต่งสถานที่ ยังไม่คำนวณค่าใช้จ่าย จะดำเนินการตามงบประมาณที่ได้จากการบริจาค ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
๘. การประเมินโครงการ
เราจะสรุปผลการก่อสร้าง และงบประมาณที่ใช้ทุกสิ้นเดือน โดยเอารายละเอียดต่าง ๆ ลงในเว็บไซต์ www.GoVolunteerThailand.org เพื่อชี้แจงและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ทราบทั่วกัน
๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
หลังจากที่เราสร้างศูนย์การเรียนรู้เสร็จและทำการประชาสัมพันธ์แล้ว เราคาดการว่าจะมีเยาวชนในโรงเรียนต่าง ๆ เข้ามาเรียนรู้ในช่วงวันหยุด และช่วงปิดเทอมเป็นจำนวนมาก รวมถึงสามารถรับอาสาสมัครชาวต่างชาติทั่วโลกให้เข้ามาอาศัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสามารถสร้างประโยชน์แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง
…………………………………………………….
บัญชีรับบริจาคผ่านธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชี : สมาคมชุมชนอาสานานาชาติ
เลขบัญชี : 938-0-60378-9
นโยบายการใช้จ่ายเงินของสมาคม ท่านสามารถเข้าดูได้ที่นี่ “คลิก”